top of page

Édouard-Victoire-Antoine Lalo

          เอดวาร์ด วิกตัวร์ อันตวล ลาโล (27 มกราคม ค.ศ.1823 - 22 พฤษภาคม ค.ศ.1892) เป็นนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส  แม้ว่าสกุลดั้งเดิมเป็นชื่อสเปนก็ตามแต่ชื่อและชื่อกลางของเขานั้นเป็นภาษาฝรั่งเศส

          ครอบครัวของเขาได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่ฟลานเดอร์ส(Flanders)และฝรั่งเศสเหนือตั้งแต่ศตวรรษที่16   ผู้ปกครองของลาโลนั้นสนับสนุนในการศึกษาดนตรีเขาจึงเรียนไวโอลินและเชลโล่ควบคู่ที่ Lille Conservatoire  แต่เมื่อลาโลเริ่มเข้าสายดนตรีอย่างจริงจังกลับถูกคัดค้านจากฝ่ายบิดาผู้มียศเป็นทหาร  เหตุการณ์นี้จึงทำให้เขาถูกบีบให้ออกจากบ้านตอนอายุ16ปีและไล่ตามทำตามความฝันที่ปารีส  เขาได้เข้าร่วมคลาสไวโอลินของ Habeneck ที่ Paris Consercatoire และเรียนการประพันธ์เพลงกับนักเปียโน Julius Schulhoff และนักประพันธ์ J.-E. Crevecoeur   ในช่วงเวลานี้เขาใช้ชีวิตในฐานะนักไวโอลินและครูอยู่พักใหญ่

Édouard_Lalo.jpg

          การประพันธ์ของลาโลนั้นเรียกได้ว่าไม่ได้มีจุดขายและน่าสนใจเพียงเพราะเขามีความชอบ form รูปแบบเก่าๆและล้าสมัยใน chamber music และในขณะเดียวกันตัวเขาในอายุ43ปีเองก็ได้ยอมแพ้กับการประพันธ์เพลง

          ท้ายที่สุดเขาก็ได้พยายามประพันธ์อีกครั้งกับบทเพลง Opera Fiesque ซึ่งได้นำเข้าประกวดโดยมี Theatre-Lyrique เป็นผู้สนับสนุน แต่เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะ เขาจึงมุ่งมั่นไปทางผลิตสิ่งพิมพ์ขายScore ซึ่งสมัยนั้นนักเปียโนนิยมทำโน้ตขายไม่ว่าเป็นเพลงหรือแบบฝึกเพราะมีชนชั้นกลางมากขึ้น คนนิยมซื้อกลับบ้านไปเล่นเอง แต่นั่นก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

sarasate.jpg

          แต่แล้วโชคชะตาของเขาได้เปลี่ยนไปเมื่อได้พบกับซาราซาเต(Sarasate) และได้ทำชุดเพลง concerto ต่างๆให้แก่ ซาราซาเตและนักดนตรีคนอื่นๆ ในปีค.ศ.1874 ซาราซาเตได้เปิดตัวบทเพลง violin Concerto ของลาโล(ปัจจุบันถูกลืมเลือนไปแล้ว) และในปีเดียวกันลาโลเองได้เริ่มประพันธ์เพลง Symphonie Espagnole

          นอกจากบทเพลง Symphonie Espagnole แล้ว ชุดเพลงอุปรากร Carmen ของ Bizet นั้นก็ถือเป็นผลงานที่จุดประกายความพึงพอใจความเป็นฝรั่งเศสด้วยกลิ่นอายของสเปน 

          ท่อนแรกของ Symphonie Espagnole นั้นมีรูปแบบ “Symphonic” อย่างเห็นได้ชัดที่สุดในห้าท่อน โดยโน้ตแต่ละโน้ตได้รับแรงบันดาลใจและประดับใส่ความfanfare(พลุไฟ)ให้เกิดความโอ่อ่า รื่นเริง  เปิดตัวเพลงเริ่มแรกนั้นเสมือนแนะนำให้รู้จักกับจังหวะสองส่วนตามด้วยสามส่วน โดยการบรรเลงด้วยจังหวะสองและสาม หรือสามและสองนั้นเป็นแพทเทิร์นของดนตรีสเปน การบรรเลงของไวโอลินที่เข้ามาในห้องที่สี่ด้วยทำนองยิ่งใหญ่  และหลังจากนั้นก็สงบลง Soloที่มีความประดับประดาสูงและมีจุดเด่นคือ Melodic กับ rhythm ที่เก๋ เด่นออกมาเหมือนฉลองพลุไฟ

          ท่อนที่สองScherzo นั้นมีสีสันที่เหมือนกับ Seguidilla dance rhytm ซึ่งมีอิทธิพลเช่นเดียวกับบทเพลงอาเรียโอเปร่า Carmen และร่ายร้องคล้ายกับ grand serenade ด้วยการบรรเลงไวโอลินที่สูงด้วยการคลอการดีดของเครื่องสายและฮาร์ป เหมือนกับเสียงของกีต้าในยามค่ำคืน

          ท่อนที่สาม Intermezzo เต็มไปด้วยสีสัน ความยิ่งใหญ่ และแสดงถึงดนตรี Spanish อย่างแท้จริง

          ท่อนที่สี่ มีลักษณะที่ darkly seductive ด้วยท่วงทำนองที่เป็นธรรมดาสลับกับพื้นเมืองของไวโอลิน  ในจังหวะที่ช้า(Andante)

          ท่อนที่ห้า เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและสีสันมากไปด้วยความเป็นพื้นเมืองของSpanish เปิดตัวเพลงด้วยการคลุมบรรยากาศของการสั่นเบล ตามด้วยชะลอลงระหว่างทางและสงบเมโลดี้ลง

bottom of page