top of page

Orphism VS Cubism

Updated: Dec 18, 2020

Orphism นั้นมีรากฐานมาจาก cubism แต่เน้นสีใหม่โดยได้รับอิทธิพลจาก Neo-Impressionists และ Symbolists ซึ่งจะต่างการลงสีแบบคลุมโทนตามสไตล์ Pablo Picasso และ Georges Braque ซึ่ง Orphists นั้นใช้เฉดสีปริซึม หรือเฉดสีที่มีความโดดเด่นและไม่เกลี่ยสีระหว่างสี เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและพลัง ซึ่งแนวคิดนี้ทำให้สัมผัสได้อย่างชัดและเข้าถึงง่าย เรียกได้ว่าเป็นไอเดียที่แหวกและโดดไปจากสไตล์ของคิวบิสต์ที่เน้นไปในทางนามธรรม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพัฒนาและก้าวหน้าในศิลปะยุคใหม่




Cubism

Cubism นั้นเป็นทัศนศิลป์ที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในศตวรรษที่20 ซึ่งสร้างสรรค์โดยศิลปินชื่อดังอย่าง Pablo Picasso และ Georges Braque ในช่วงปีค.ศ. 1907-1914

โดยสไตล์นี้จะเน้นไปภาพไปทางเรียบแบน เป็นงานผิวสองมิติ ไม่ใช้เทคนิคดั้งเดิมต่างๆอย่างทัศนมิติ(perspective) ความลึกตื้น(foreshortening) แบบจำลองอ้างอิง(modeling) รวมถึงการใช้องค์ประกอบแสงเงาที่ตัดกัน(chiaroscuro) ศึกษาเป็นการหักล้างทฤษฎีและเทคนิคภาพวาดของคนรุ่นเก่าที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติเป็นอย่างมาก เนื่องจากศิลปะประเภทนี้ไม่ต้องการความเป็นธรรมชาติ เขาต้องการสิ่งนามธรรมที่ไม่มีจริง จึงไม่ผูกมัดกับฟอร์ม เทกซ์เจอร์ สี และช่องว่างที่เคยมีมา



Orphism

Orphism คือศิลปะนามธรรมเช่นเดียวกับ Cubism นำเสนอเทรนด์โดย Robert Delaunay ซึ่งต่อยอดมาจาก Cubism แต่ให้ความสำคัญในเรื่องแสงและสี งานประเภทเป็นที่รู้จักในปีค.ศ.1911-1914 โดยได้ถูกบัญญัติใช้คำว่า orphism กับงานประเภทนี้ในปีค.ศ.1912 จากนักกวีชาวฝรั่งเศส Guillaume Apollinaire

งาน Orphism ให้ความสำคัญในเรื่องสีที่ contrast เป็นพิเศษ รองลงมาคือรูปทรงที่ได้เป็นเรขาคณิต(Cube) โดยไอเดียมาจากการที่เขาเชื่อว่าศิลปะนั้นสามารถเพิ่มสุนทรียศาสตร์ได้ด้วยสีและดนตรีมากที่สุดจึงให้ความสำคัญกับสีเป็นพิเศษ




ความแตกต่างระหว่าง Orphism และ Cubism


- Orphism ให้ความสำคัญกับสีที่ตัดกันเป็นหลักและไม่คำนึงถึงการคลุมโทน แต่ Cubismไม่ได้ใส่ใจในเรื่องสี

- Orphism ใช้รูปทรงเรขาคณิตไม่อิงวัตถุจริง ส่วน Cubism จะอิงวัตถุและเปลี่ยนให้มีรูปทรงคล้ายเรขาคณิต

- Orphism เกิดแนวคิดเรื่องศิลปะสามารถเพิ่มสุนทรียศาสตร์ได้ด้วยสีและดนตรีมากที่สุดจึงให้ความสำคัญกับสี ในขณะเดียวกัน Cubism คือศิลปะที่เริ่มบุกเบิกกับสิ่งนามธรรมที่ไม่มีจริง ไม่ผูกมัดกับแนวคิดและเทคนิคของศิลปะที่เคยมีมา



 
54 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page